หน้า 12
หลักการของการเกิดลมคือการเคลื่อนตัวของอากาศที่เกิดจากอุณหภูมิที่แตกต่าง กันและความกดอากาศที่แตกต่างกันโดยลมจะพัดจากบริเวณพื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ กว่าหรือความกดอากาศสูงกว่าไปหาพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงกว่าหรือความกดอากาศ ต่ำกว่า โดยอากาศที่ได้รับความร้อนจะขยายตัวทำให้มีความหนาแน่นลดลงและลอยตัวสูงขึ้น ดังนั้นอากาศที่อยู่ในแนวราบบริเวณที่ได้รับความร้อนน้อยกว่าหรืออุณหภูมิ ต่ำกว่าจะเคลื่อนตัวในแนวราบมาแทนที่ ซึ่งอากาศที่เคลื่อนที่ในแนวราบขนาดกับโลกนั้นคือลมนั้นเอง
ยกตัวอย่างพื้นที่ที่มีความอุณหภูมิและความกดอากาศจะมีความแตกต่างกันชัดเจน คือบริเวณอากาศเหนือพื้นดินและเหนือพื้นน้ำทะเล โดยอากาศเหนือพื้นดินและน้ำทะเลจะได้รับความร้อนจากแสดงอาทิตย์ในปริมาณที่เท่ากันแต่คุณสมบัติของดินและน้ำมีการสะสมและคายความร้อนแตกต่างกัน ซึ่งดินนั้นมีคุณสมบัติคายความร้อนได้ดีกว่าน้ำทำให้กลางคืนนั้นอากาศเหนือ พื้นดินมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ จึงทำให้อากาศเหนือพื้นน้ำที่ร้อนกว่าลอยตัวสูงขึ้นและอากาศเหนือพื้นดินที่ เย็นกว่าเคลื่อนตัวมาแทนที่ ดังนั้นลมจึงเคลื่อนตัวจากพื้นดินไปสู่พื้นน้ำในเวลากลางคืน หรือที่เราเรียกว่า “ลมบก” ขณะที่เวลากลางวันนั้นพื้นดินจะสะสมความร้อนได้เร็วกว่าพื้นน้ำจึงทำให้ อากาศเหนือพื้นดินนั้นมีอุณหภูมิที่สูงกว่าอากาศเหนือพื้นน้ำ ดังนั้นอากาศเหนือพื้นดินมีความร้อนสูงกว่าขยายตัวและลอยตัวสูงขึ้นและอากาศ เหนือพื้นน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจึงเคลื่อนตัวมาแทนที่ ดังนั้นลมจึงเคลื่อนตัวจากพื้นน้ำไปสู่พื้นดินในเวลากลางวันหรือที่เราเรียก ว่า “ลมทะเล” สำหรับพื้นที่อยู่ใกล้ทะเลหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่กระแสลมจะเคลื่อนตัวจากแหล่ง น้ำเข้าพื้นดินหรือเคลื่อนที่ออกจากพื้นดินไปแหล่งน้ำเป็นหลัก ซึ่งลมมักจะไม่เคลื่อนที่ตามทิศทางลมของภูมิประเทศทั่วไปหรือที่เรียกว่าลมมรสุม
โดยทิศทางของลมในประเทศแต่ละประเทศนั้นจะเคลื่อนที่ตามทิศทางของลมมรสุมเป็นหลัก ซึ่งประเทศไทยเองนั้นก็มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูร้อน ฤดูฝน ระยะเวลาประมาณ 6 เดือนต่อปี ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาวระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือนจะอยู่ในช่วงประมาณเดือนกลางเดือนตุลาคมหรือต้นพฤศจิกายนไปจนถึงช่วง เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งลมมรสุมนั้นเกิดจากการที่โลกนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์ แต่เนื่องจากแกนโลกนั้นปกติจะเอียง 23.5 องศากับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งหมายถึงแกนโลกจะชี้ไปทิศทางเดียวเสมอ โดยแกนโลกด้านเหนือก็จะชี้ไปยังกลุ่มดาวเหนืออยู่ตลอดนั้นเอง ดังนั้นในการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์นั้นแกนโลกจะเอียงด้านเหนือเข้าหาดวง อาทิตย์เป็นบางเวลาและเอียงออกจากดวงอาทิตย์เป็นบางเวลา และการที่แกนโลกเอียงทำให้พื้นบนโลกในตำแหน่งเดียวกันแต่ละช่วงเวลาได้รับ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ต่างกันเมื่อได้รับความร้อนต่างกันอุณหภูมิก็จะแตก ต่างกันในพื้นที่นั้นตามช่วงเวลาในแต่ละปี จึงเป็นสาเหตุให้เกิดทิศทางของลมและฤดูกาลต่างๆซึ่งในเราจะเห็นจากในช่วงฤดู ร้อนในซีกโลกเหนือก็จะเป็นฤดูหนาวทางซีกโลกใต้ และขณะที่ช่วงฤดูหนาวในซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนในซีกโลกใต้
ภาพแสดงการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนโลกนั้นเอง 23.5 องศา ทำให้พื้นบนโลกในตำแหน่งเดียวกันแต่ละช่วงเวลานั้นได้รับความร้อนจากดวง อาทิตย์ต่างกันหรือมีอุณหภูมิต่างกันจึงเป็นสาเหตุที่มาของกระแสลมและฤดูกาล
ประเทศไทยนั้นอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรโดยพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไทย นั้นเป็นทะเลอันดามัน แต่เนื่องจากแกนโลกที่เอียง 23.5 องศาขณะที่โลกโคจรเอียงแกนโลกทางด้านเหนือเข้าหาพระอาทิตย์ ประเทศไทยบริเวณส่วนพื้นดินจะได้รับความร้อนและแสงแดดจากพระอาทิตย์โดยตรง มากกว่าพื้นน้ำบริเวณทะเลอันดามัน ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูร้อนและเป็นช่วงมีกลางวันยาวนานกว่ากลางคืน เมื่อบริเวณพื้นดินได้รับความร้อนมากกว่าอากาศจะขยายตัวและลอยตัวสูงขึ้น จึงทำให้อากาศเหนือน้ำบริเวณทะเลอันดามันนั้นเคลื่อนตัวมาแทนที่จึงทำให้ เกิดกระแสลมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้จากทะเลอันดามันมาสู่ไทยหรือที่เรียกว่าลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นั้นเอง
ขณะที่เวลาโลกนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์และเอียงแกนโลกด้านทิศใต้เข้าหาพระ อาทิตย์หรือเอียงแกนโลกทางทิศเหนือออกห่างพระอาทิตย์จึงทำให้บริเวณทะเล อันดามันได้รับความร้อนจากพระอาทิตย์โดยตรงและมากกว่าพื้นแผ่นดินของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูหนาวและเป็นช่วงที่มีกลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน เมื่ออากาศบริเวณทะเลอันดามันจึงได้รับความร้อนและขยายตัวลอยตัวสูงขึ้นจึง ทำให้อากาศจากพื้นแผ่นดินประเทศไทยเคลื่อนตัวไปแทนที่กลายเป็นกระแสลมที่พัด จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากพื้นดินบริเวณประเทศจีนไปสู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณทะเลอันดามันหรือที่เรียกกันว่าลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาพแสดงกระแสลมในฤดูหนาว - ฤดูร้อน
หลังจากเราได้รู้ที่มาของการเกิดลมและทิศทางของลมในประเทศไทยแล้วเราควรออก แบบบ้านให้รับกระแสลมธรรมชาติ ดังนั้นควรออกแบบบ้านให้รับกระแสลมมากสุดจึงควรให้หน้าบ้านหันไปทางทิศทางลม และควรมีประตูทางเข้าอยู่ในแนวทิศทางลม หากไม่ใช่หน้าบ้าน เช่น ด้านข้างบ้าน หรือด้านหลังบ้านควรมีช่องให้ลมผ่าน เช่น ประตู หรือ หน้าต่าง ตามทางทิศของกระแสลมเป็นอย่างน้อย โดยกระแสลมทิศหลักที่ยาวนานที่สุดในช่วงเวลาต่อปีในประเทศไทยนั้นคือ กระแสลมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่ตามข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น โดยที่บ้านหรืออาคารที่หันหน้าหรือมีช่องเปิดรับกระแสลมจากทางทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ก็จะได้รับอิทธิพลจากกระแสลมในทิศนี้มากที่สุด และหากพิจารณาตามทิศดังกล่าวแล้วทิศตะวันตกจะรับแดดมากช่วงบ่ายทำให้บ้าน หรืออาคารที่หันหน้าทางทิศนี้หรือที่มีช่องเปิดทางทิศนี้ได้รับความร้อนจาก แดดมาก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนจีนนั้นนิยมหันหน้าไปทางทิศใต้มากกว่าทิศตะวันตก
ส่วนกรณีบ้านทั่วไปหรือบ้านพักตากอากาศ หรืออาคารต่างๆที่อยู่บริเวณทะเลอาจไม่ต้องคำนึงกระแสลมมรสุมตะวันตกเฉียง ใต้และตะวันออกเฉียงเหนือมากนัก เนื่องจากบ้านและอาคารเหล่านี้จะได้รับอิทธิพลจากลมบก ลมทะเลตามที่กล่าวมาข้างต้น โดยทิศทางลมจะพัดจากพื้นน้ำมาสู่พื้นดินเสมอในเวลาช่วงกลางวัน ดังนั้นการมีบ้านและอาคารที่มีช่องลมเช่น ประตูทางเข้าหน้าบ้าน หรือหน้าต่างอยู่ด้านที่ติดทะเลนั้นก็จะสามารถได้รับกระแสลมธรรมชาติในช่วง กลางวันได้ตลอด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น