หน้า 18 ความรู้เรื่องไม้

หน้า 18
ไม้ที่ใช้ในฟาร์มนกแอ่นนั้นเราควรมาศึกษาให้รู้ลึกในเรื่องไม้กันสักหน่อย เพราะการเลือกไม้ที่เหมาะสมจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย หรือ ประหยัดงบประมาณของฟาร์มนกแอ่น เพราะการลงทุนทำฟาร์มนกแอ่นแต่ละที่ควรศึกษารายละเอียดข้อดีข้อด้อยของแต่ละสถานที่มาพิจารณาร่วมกัน

ชนิดของไม้
  1. ไม้เนื้ออ่อน ได้แก่ ไม้ที่มีเนื้อค่อนข้างเหนียว ทำการเลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้ง่าย ลักษณะเนื้อมีสีซีดจาง น้ำหนักเบา ขาดความแข็งแรงทนทาน รับน้ำหนักได้ไม่ดี เช่น ไม้ฉำฉา, ไม้กะบาก, ไม้ยาง, ไม้สยาแดง, สยาเหลือง, อะกาติส ฯลฯ
  2. ไม้เนื้อแข็ง ได้แก่ ไม้ที่มีเนื้อแข็งปานกลาง ทำการเลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้ยาก ลักษณะเนื้อไม้มีสีเข้มค่อน ไปทางสีแดง มีความแข็งแรงทนทาน เช่น ไม้ตะเคียน, ไม้ชิงชัน, ไม้เต็ง, ไม้มะม่วง, ไม้แคมปัส, ไม้สยาหิน, แมงกีส, อลันบาตู ฯลฯ
  3. ไม้เนื้อแกร่ง ได้แก่ ไม้ที่มีเนื้อแกร่ง ทำการเลื่อย ไสกบ ตกแต่งได้ยากมาก ลักษณะเนื้อไม้เป็นมันในตัว แน่น ลายละเอียด น้ำหนักมาก มีสีเข้มจัดจนถึงสีดำ มีความแข็งแรงทนทานดีมาก เช่น ไม้มะค่าโมง, ไม้ประดู่, ไม้แดง, ไม้เกลือ ฯลฯ

หลักเกณฑ์การแบ่งไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้

ไม้...การค้าแบ่งออกเป็นสองชนิด คือ ไม้เนื้ออ่อน (Softwoods) และไม้เนื้อแข็ง (Hardwoods) โดยอาศัยวิชาการทางพฤกษศาสตร์เป็นรากฐานในการแบ่งออกเป็นสองชนิดดังกล่าวคือ

ไม้เนื้ออ่อน

เป็นไม้ที่ได้จากต้นไม้พวกสน Coniferae ที่มีลักษณะใบเรียวเล็ก (Needle leaves) ผลมีรูปลักษณะเป็นรูปทรงกรวย (Cone) ต้นไม้พวกนี้ส่วนมากขึ้นอยู่ในที่สูงมีอากาศเย็นในประเทศที่มีอากาศหนาว (Temperate regions) ลักษณะโครงสร้างของไม้เนื้ออ่อนเป็นแบบธรรมดาซึ่งแตกต่างจากไม้เนื้อแข็ง อย่างชัดเจน และมีความเหมาะสมในการใช้งานก่อสร้างได้ ถึงว่าจะมีเนื้อไม้ของไม้สนหลายชนิดค่อนข้างอ่อนแต่ก็ง่ายต่อการไสตบแต่ง มีน้ำหนักเบาและแข็งพอที่จะใช้สำหรับงานก่อสร้างโดยทั่วไปได้เช่นกัน

ไม้เนื้อแข็ง

เป็นไม้ที่ได้มาจากต้นไม้ที่มีใบกว้าง (broad leaved trees) ซึ่งเป็นไม้จำนวนมากที่มีอยู่ในป่าไม้ของประเทศไทย ไม้ที่เป็นของไทยส่วนมากหรือทั้งหมดที่เป็นการค้าเป็นไม้เนื้อแข็งมีจำนวน หลายสิบชนิด ลักษณะโครงสร้างของไม้เนื้อแข็งมีความยุ่งยากซับซ้อนกว่าไม้เนื้ออ่อน และมีลักษณะแตกต่างระหว่างไม้เนื้อแข็งด้วยกันเองมาก คุณสมบัติของไม้เนื้อแข็งมีความแตกต่างระหว่างพวกไม้เนื้อแข็งด้วยกันทั้งใน ด้านความแข็งแรงของการรับน้ำและความแข็งของเนื้อไม้อย่างกว้างขวาง

ข้อแตกต่างของไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็งทางวิชาการที่กล่าวมาแล้ว เป็นความหมายที่ใช้กันทุกประเทศในโลก ดังนั้นความจริงที่ปรากฏว่าไม้เนื้ออ่อนบางชนิด (Softwoods) แข็งกว่าไม้เนื้อแข็งบางชนิด (Hardwoods) จึงไม่เป็นสาเหตุทำให้ความหมายของไม้เนื้ออ่อน และไม้เนื้อแข็งตามความหมายทางวิชาการซึ่งถือเอาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และ ลักษณะโครงสร้างของไม้เป็นเรื่องเกินเลยความจริงหรือผิดพลาดแต่ประการใด


ไม้เนื้ออ่อนและไม้เนื้อแข็งที่เป็นปัญหา

ไม้เนื้ออ่อน (Softwood) ที่ว่ากันตามหลักวิชาการทางลักษณะโครงสร้างไม้ก็คือไม้ที่เนื้อไม้ไม่มีรู (non-porous wood) พูดให้ง่าย ถ้าเอามีดคมๆ เฉือนที่หน้าตัดไม้ให้เรียบ แล้วใช้แว่นขยาย (hand lens) ส่องดู จะเห็นว่าไม่มีรู ไม้ที่เป็นไม้เนื้ออ่อนตามหลักวิชาการดังกล่าว ได้แก่ พวกไม้สน (conifers)

ส่วนไม้เนื้อแข็งเป็นไม้ที่มีลักษณะโครงสร้างที่มีรู (porous wood) ถ้าใช้แว่นขยายส่องดูเนื้อไม้ตามกรรมวิธีที่ว่า จะพบว่าในเนื้อไม้มีรูพรุนโดยทั่วไป แต่ปัญหาไม้เนื้ออ่อน เนื้อแข็งตามความหมายที่ใช้โดยทั่วๆ ไป เกี่ยวกับไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างนั้น หมายถึงไม้ที่สามารถรับแรงหรือรับน้ำหนักโดยไม่แตกหักเสียหาย ซึ่งหากจะพูดในอีกแง่หนึ่ง ก็คือ ความแข็งแรงของไม้นั่นเอง ดังนั้น ไม้เนื้ออ่อนเนื้อแข็งที่จะกล่าวต่อไปก็หมายความตามที่ว่ากันโดยทั่วไป คือ ความแข็งแรงของไม้ในการรับน้ำหนักในการใช้งานที่ประกอบเป็นสิ่งปลูกสร้าง


ไม้เนื้อแข็งตามาตรฐานของกรมป่าไม้

การกำหนดว่าไม้ชนิดหนึ่งชนิดใดเป็นไม้เนื้อแข็งนั้น มีได้คำนึงถึงเฉพาะในความแข็งแรงในการรับน้ำหนักอย่างเดียว หากได้พิจารณาตามความเป็นจริงและความนิยมยอมรับนับถือโดยทั่วๆ ไปว่า นอกจากความแข็งแรงแล้ว ต้องมีความทนทานอีกด้วย เช่นเดียวกันรุ่นคุณปู่คุณย่ายอมรับว่า ไม้เต็ง รัง ประดู่ แดง มะค่าโมง ตะเคียนทอง เคี่ยม หลุมพอ บุนนาค และกรันเกรา เป็นต้น ว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง ชนิดไม้ที่กล่าวเมื่อนำมาทดลองตามหลักวิชาการ เพื่อหาค่าความแข็งแรงก็ปรากฏว่า เป็นไม้ที่มี่ความแข็งแรงสูงกว่า 1,000 กก./ซม2 ขึ้นไปทั้งสิ้น

และเมื่อพิจารณาด้านความทนทานตามธรรมชาติจากการทดลองนำส่วนที่เป็นแก่นของ ไม้ชนิดดังกล่าวไปทดลองปักดิน ปรากฏว่ามีความทนทานตามธรรมชาติโดยเฉลี่ยสูงกว่า 10 ปีทั้งสิ้น ยกเว้นไม้ตะเคียนทองที่มีค่าความทนทานตามธรรมชาติโดยเฉลี่ย 7.7 ปี จะเห็นว่าความยอมรับนับถือของคนสมัยก่อนที่ว่าเป็นไม่เนื้อแข็งนั้น มีข้อมูลทางวิชาการที่สนับสนุนข้อเท็จจริงนี้ คนในสมัยก่อนได้ความรู้จากประสบการณ์ที่นำไม้ไปใช้จนยอมรับกันว่าเป็นไม้ดี

ในปัจจุบันไม้ที่ยอมรับและนิยมนำไปใช้กันว่าเป็นไม้เนื้อแข็งที่ดีหาได้ค่อน ข้างยาก ส่วนมากจะพบแต่ไม้ชนิดใหม่ๆที่ยังไม่รู้จักมาก่อน จึงยังไม่ทราบว่าเป็นไม้เนื้อแข็งหรือไม่ บางคนที่คาดคะเนเอาว่าเป็นไม้เนื้อแข็ง เพราะมีน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับไม้ที่นิยมใช้กันโดยเฉพาะไม้ตะเคียนทอง ซึ่งตามข้อมูลทางวิชาการแล้วไม่เป็นจริงเสมอไป บางคนก็นำข้อสงสัยนี้มาปรึกษาหารือกับกองวิจัยผลิตผลป่าไม้ กรมป่าไม้ ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีงานในหน้าที่เกี่ยวข้องกัน

การนำไม้ไปใช้ประโยชน์ แต่ในอดีตกองวิจัยผลิตผลป่าไม้เองก็มิได้กำหนดกฏเกณฑ์เอาไว้เป็นบรรทัดฐาน ว่า ไม้ชนิดใด จัดเป็นไม้เนื้อแข็ง ดังนั้น เพื่อเป็นการตัดปัญหาความยุ่งยากต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นต่อไปอละเพื่อให้มีหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่แน่ชัดเป็นอย่าง เดียวกันในการกำหนดชนิดไม้ว่าเป็นไม้เนื้อแข็งหรือไม้เนื้ออ่อน กองวิจัยผลิตผลป่าไม้จึงได้เสนอหลักเกณฑ์การกำหนดไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็ง ต่อกรมป่าไม้ ซึ่งกรมป่าไม้เห็นชอบด้วย และได้มี หนังสือกรมป่าไม้ที่ กส 0702/6679 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2517 เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับไม้ที่ใช้ในการก่อสร้างในส่วนราชการกรมป่าไม้ เวียน ให้หน่วยราชการในสังกัดกรมป่าไม้ได้ยึดถือปฏิบัติ และกองวิจัยผลิตผลป่าไม้ก็ถือเอาหลักเกณฑ์ตามหนังสือกรมป่าไม้ดังกล่าวในการ ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับความข็งแรงของไม้ว่าเป็นไม้เนื้อแข็งหรือไม่


หลักเกณฑ์การแบ่งไม้เนื้ออ่อนไม้เนื้อแข็งตามมาตรฐานของกรมป่าไม้

โดยที่คุณสมบัติไม้ทางด้านกลสมบัติ (mechanical properties) นั้นเกี่ยวข้องกับแรง (stress) ที่มากระทำต่อไม้ ซึ่งมี 4 ลักษณะด้วยกัน คือ แรงบีบ (compressive stress) เป็นแรงที่ทำให้ไม้มีขนาดเล็กกว่าเดิม แรงดึง (tensile stress) เป็นแรงที่ทำให้ไม้มีขนาดหรือปริมาตรใหญ่กว่าเดิม แรงเชือด (shear stress) เป็นแรงที่ทำให้ไม้แยกออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรงดัด (bending stress) เป็นแรงที่ทำให้ไม้โค้งงอจนหัก เป็นแรงที่รวมเอาแรง 3 ชนิดแรกเข้าด้วยกัน

ความสามารถที่ไม้จะต้านทานต่อแรงที่มากระทำ เรียกว่า ความแข็งแรง (strength) ซึ่งจะมีความแข็งแรงชนิดใดก็ขึ้นอยู่กับชนิดแรงที่มากระทำดังกล่าวแล้ว แรงที่นับว่าสำคัญและพบว่าเกิดขึ้นเสมอในสิ่งก่อสร้าง คือแรงบีบขนานเสี้ยนและแรงดัด รองลงมาก็คือแรงเชือด โดยเฉพาะแรงดัดซึ่งสามารถทำให้ไม้หักเสียรูปโดยสิ้นเชิงนั้น เป็นแรงที่มีปัจจัยต่างๆ ในสิ่งก่อสร้างมาเกี่ยวข้องอยู่เป็นอันมาก แรงดัดสูงสุดที่ทำให้ไม้หัก เรียกว่า แรงประลัยหรือสัมประสิทธิ์ในการหัก (modulus of rupture) ความต้านทานของไม้ต่อแรงประลัยนี้ เรียกว่า ความแข็งแรงของไม้ในการดัด ซึ่งยอมรับและใช้กันเป็นมาตรฐานของความแข็งแรงของไม้ ในการแบ่งไม้ออกเป็นประเภทไม้เนื้ออ่อนหรือไม้เนื้อแข็ง จึงได้ถือเอาความแข็งแรงในการดัดเป็นเกณฑ์ โดยพิจารณาความทนทานตามธรรมชาติประกอบด้วยและโดยที่ไม้ตะเคียนทอง (Hoper odorata Roxb.) เป็นไม้ที่ได้รับความนิยมและยอมรับกันอย่างกว้างขวางมานานว่า เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีคุณภาพดีทั้งด้านความแข็งแรงและความทนทาน จึงได้เปรียบเทียบคุณภาพของไม้ที่ยังไม่รู้จักกับไม้ตะเคียนทองเสมอ

ดังนั้นการแบ่งไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็งของกรมป่าไม้ จึงนำเอาความแข็งแรงในการดัดของไม้ตะเคียนทองที่แห้งเป็นค่ามาตรฐานในการ แบ่งช่วงความแข็งแรงในการดัดของไม้ชนิดต่างๆ ว่าเป็นไม้เนื้อแข็งหรือไม้เนื้ออ่อน ปรากฏตามรายละเอียดใน หนังสือกรมป่าไม้ที่ กส 0702/6679 ลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2517 ดังกล่าวแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญพอสรุปได้ดังนี้

"ให้แบ่งไม้ออกเป็น 3 ประเภท โดยถือเอาค่าความแข็งแรงในการดัดของไม้แห้ง (ความชื้นประมาณ 12 %)" และความทนทานตามธรรมชาติของไม้นั้นเป็นเกณฑ์ดังนี้


ความแข็งแรงในการดัด
(กก./ซม2)
ความทนทานตามธรรมชาติ
(ปี)
ไม้เนื้อแข็ง
สูงกว่า 1,000
สูงกว่า 6
ไม้เนื้อแข็งปานกลาง
600 - 1,000
2 - 6
ไม้เนื้ออ่อน ต่ำกว่า
600
ต่ำกว่า 2

สำหรับไม้ที่มีความทนทานตามธรรมชาติต่ำ หากได้อาบน้ำยาป้องกันรักษาเนื้อไม้เสียก่อนให้มีปริมาณน้ำยาตามตารางข้าง ล่างนี้ก็ให้เลื่อนขึ้นไปตามค่าความแข็งแรงได้

ข้อมูลจาก : หนังสือไม้เนื้อแข็งของประเทศไทย
เรียบเรียง : บางรักษ์ เชษฐสิงห์ นักวิชาการป่าไม้ 5


<< กลับหน้า 17___________อ่านต่อหน้า 19 >>

2 ความคิดเห็น:

  1. ทราบข้อมูลลำโพงเรียกนกแอ่น

    ตอบลบ
  2. ปัจจุบันเป็นอย่างไรอยากให้อัพเดตให้ได้ทราบบ้างครับ

    ตอบลบ

จากใจผู้จัดทำ Blog.

ข้อมูลวิชาความรู้ต่างๆ ที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำมาเสนอนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากหลายๆแหล่งข้อมูล มีทั้งข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลเชิงธุรกิจ และข้อมูลทางเทคนิค ที่สามารถช่วยส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง ให้สามารถประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจฟาร์มนกแอ่นด้วยตัวเองได้

ดังนั้น หากข้อมูลต่างๆที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำมาเสนอนี้ สามารถสร้างความสำเร็จแก่ผู้ทำธุรกิจ หรือผู้ที่กำลังสนใจจะลงทุนทำฟาร์มนกแอ่น ตลอดจนสามารถส่งเสริมให้คนหันมาสนใจอนุรักษ์และขยายพันธุ์นกแอ่น
คุณงามความดีต่างๆเหล่านี้ขอมอบแด่ครูบาอาจารย์ ที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำข้อมูลของท่านเหล่านั้นมานำเสนอ
และหากมีข้อผิดผลาดประการใดผู้จัดทำบล็อกขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

ขอขอบพระคุณ

อ.ศุภลักษณ์ วิรัชพินทุ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาคชีววิทยา ม.นเรศวร)
http://gotoknow.org ข้อมูลลักษณะทางชีววิทยาของนกแอ่นกินรัง

อ.เทพชัย อริยะพันธุ์ (อดีตนายกสมาคมท่องเที่ยว จ.ยะลา)
http://swiftletlover.blogspot.com ข้อมูลเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆในการทำฟาร์มนกแอ่น

อ.ประทีป ด้วงแค (ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ ม.เกษตรศาสตร์)
http://www.biotec.or.th ข้อมูลทางการค้าการทำธุรกิจรังนก

อ.เกริกวิชญ์ กฤษฎาพงษ์
http://www.baannatura.com ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากพลังธรรมชาติ

ข้อมูลการจำแนกลักษณะของนกแอ่น
www.oknation.net



"ขุนเขาไว้ไมตรีกับกรวดดิน
ขุนเขาจึงยิ่งใหญ่และสูงชัน..

ขอบฟ้าไว้ไมตรีกับหมอกควัน
ขอบฟ้านั้นจึงงดงาม.."


ด้วยความเคารพ....นายฐิติพันธ์ วสุธาภิรมย์