หน้า 11 แสงแดดกับบ้านนกแอ่น

หน้า 11

โดยปกติคนทั่วไปมักจะคิดว่าพระอาทิตย์นั้นขึ้นทางทิศตะวันออกตรงๆและตกที่ทิศตะวัน ตกตรงๆ และยังคิดว่าพระอาทิตย์นั้นขึ้นเป็นแนวเส้นตรงจากทิศตะวันออกไปยัง ติดตะวันตกเสมอ แท้จริงแล้วพระอาทิตย์ไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรงอย่างนั้นเสมอและจะมีไม่กี่ วันในรอบปีที่ดวงอาทิตย์นั้นขึ้นละตกลงในทิศตะวันออกและตะวันตกพอดี ส่วนใหญ่ดวงอาทิตย์จะขึ้นและตกเบี่ยงออกไปทางทิศเหนือและทิศใต้ด้วย สาเหตุที่พระอาทิตย์นั้นไม่ได้ขึ้นและลงตรงทิศตะวันออกและทิศตะวันตกพอดี นั้นเนื่องจากว่าโลกนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนโลกนั้นปกติจะเอียง 23.5 องศากับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์

season.gif
ภาพแสดงการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ โดยแกนโลกนั้นเอียง 23.5 องศาทำให้พระอาทิตย์ไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรงจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก จึงทำให้แสงนั้นไม่ได้มาจากทางทิศตะวันออกและตะวันตกอย่างเดียว


itcz_drift_s.jpg
ภาพแสดงประเทศเหนือเส้นศูนย์สูตรจะ ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงที่สุดในช่วงวันที่ 21 มิถุนายน ของทุกปี จึงเป็นฤดูร้อนของประเทศเหนือเส้นศูนย์ในช่วงนี้ ขณะที่ประเทศใต้เส้นศูนย์สูตรจะได้รับแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงที่สุดในช่วง วันที่ 21 ธันวาคม ของทุกปีจึงเป็นฤดูร้อนของประเทศใต้เส้นศูนย์สูตรในช่วงนี้

สำหรับประเทศไทยนั้นจะเป็นประเทศ ที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร โดยในช่วงที่โลกโคจรเคลื่อนเอาขั้วโลกใต้เอียงเข้าห่างจากพระอาทิตย์หรือ ช่วงปลายฤดูฝน ฤดูหนาว และช่วงต้นฤดูร้อนนั้นจะทำให้ดวงอาทิตย์ขึ้นลงหรือเคลื่อนที่บนเบี่ยงไปทาง ทิศใต้เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่ช่วงที่โลกโคจรเคลื่อนเอาขั้วโลกเหนือเอียงเข้า หาดวงอาทิตย์นั้นจะเป็นช่วงฤดูร้อนไปจึงถึงช่วงต้นฤดูฝนจะทำให้ดวงอาทิตย์ ขึ้นลงหรือเคลื่อนที่บนฟ้าอยู่บริเวณตรงกลางจากทิศตะวันออกไปตะวันตกพอดี และทำให้เกิดแสงแดดอยู่ตรงหัวเราพอดีอีกด้วย ซึ่งดวงอาทิตย์นั้นจะไม่ได้เคลื่อนที่เบี่ยงไปทางทิศเหนือเหมือนกรณีช่วงที่ โลกเคลื่อนเอาขั้วโลกใต้เอียงเข้าหาพระอาทิตย์ ทั้งนี้เนื่องจากประเทศไทยนั้นมีตำแหน่งอยู่เหนือเส้นศูนย์ขึ้นไปไม่มาก


สาเหตุจากการที่โลกนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนโลกนั้นปกติจะเอียง 23.5 องศากับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำ ให้เกิดการเคลื่อนที่ของเพราะอาทิตย์บนฟ้าตรงหัวช่วงฤดูร้อนไปจนต้นฤดูฝนและ เคลื่อนที่เบี่ยงไปทางทิศใต้ช่วงปลายฤดูฝน ฤดูหนาว และช่วงต้นฤดูร้อน จะทำให้แสงแดดมาที่มาจากทิศเหนือและทิศใต้แตกต่างกัน อย่างมากในแต่ละปี และแสงแดดนั้นยังมาจากทิศใต้มากกว่าทิศตะวันออกและตะวันตกช่วงปลายฤดูฝน ฤดูหนาว และช่วงต้นฤดูร้อนอีกด้วย

ดังนั้นการที่สร้างบ้านให้หน้าบ้านไปทางทิศใต้ก็จะมีโอกาสรับแสงแดดตลอดวัน หากเทียบกับทิศอื่น โดยเฉพาะหากเทียบกับทิศเหนือที่แถบไม่ได้รับแสงแดดเลย ส่วนการสร้างบ้านหันไปทางทิศตะวันออกกับตะวันตกก็จะรับแดดประมาณครึ่งหนึ่ง ของเวลากลางวัน กรณีเป็นบ้านบริเวณห้องนั่งเล่นนั้นจะห้องที่มักอยู่ทิศหน้าบ้านซึ่งหากหัน ไปตามทิศทางแต่ละทิศก็จะได้รับแสงแดดไม่เท่ากัน ความหมายคือได้รับความร้อนและความรู้สึกที่จากแสงต่างๆนั้นเอง ดังนั้นจึงต้องคำนึงถึงหลักสถาปัตยกรรมในการรับแสงแต่ละทิศเพื่อให้ลดความ ร้อนจากแสงแดดที่นำมาสู่บ้านและอาคารควบคู่กับการใช้แสงสว่างให้เพียงพอให้ มีผลต่อความรู้สึกของคน

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทิศทางของแสงแดด

โลกนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยที่แกนโลกนั้นปกติจะเอียง 23.5 องศา กับระนาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยแกนโลกจะชี้ไปทิศทางเดียวเสมอซึ่งแกนโลกด้านเหนือก็จะชี้ไปยังกลุ่มดาว เหนืออยู่ตลอดนั้นเอง โดย 23.5 องศานั้นเป็นมุมที่เกิดจากเส้นสุริยะวิถี (Ecliptic) หรือเส้นที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ตามตำแหน่งบนท้องฟ้าที่เราเห็นซึ่งทำมุมกับ เส้นศูนย์สูตรของท้องฟ้า (Celestial equator)

การที่แกนโลกเอียงนั้นทำให้การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์นั้นแกนโลกจะเอียง เข้าหาดวงอาทิตย์เป็นบางเวลาและเอียงออกจากดวงอาทิตย์เป็นบางเวลา และเนื่องจากการที่แกนโลกเอียงทำให้พื้นบนโลกในตำแหน่งเดียวกันแต่ละช่วง เวลาได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ต่างกันเมื่อได้รับความร้อนต่างกันอุณหภูมิ ก็จะแตกต่างกันในพื้นที่นั้นตามช่วงเวลาในแต่ละปีจึงเป็นสาเหตุให้เกิดทิศ ทางของลมและฤดูกาลต่างๆซึ่งในเราจะเห็นจากในช่วงฤดูร้อนในซีกโลกเหนือทางซีก โลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ขณะที่ช่วงฤดูหนาวในซีกโลกเหนือจะเป็นฤดูร้อนในซีกโลกใต้

ขณะที่ โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และแกนโลกทางเหนือจะเข้าหาดวงอาทิตย์ ประเทศส่วนใหญ่ที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรนั้นจะได้รับแสงหรือความร้อนจากดวง อาทิตย์โดยตรงจึงทำให้เป็นช่วงฤดูร้อนและทำให้เวลากลางวันนั้นยาวกว่าเวลา กลางคืนโดยช่วงนี้พระอาทิตย์จะขึ้นและลงเบี่ยงไปทางทิศเหนือ โดยหากเรามองดูดวงอาทิตย์นั้นจะเดินทางจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกโดยจะอ้อม ไปทางทิศเหนือ

ส่วนเมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และแกนโลกทางเหนือหันออกห่างดวงอาทิตย์หรือ แกนโลกทางใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์นั้นประเทศที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรนั้นจะ ได้รับความแสงและความจากดวงอาทิตย์น้อยกว่าจึงทำให้เป็นฤดูหนาวและยังทำให้ ระยะเวลาของกลางวันสั้นลงและกลางคืนนั้นยาวขึ้น พระอาทิตย์จะขึ้นและลงเบี่ยงไปทางทิศใต้ โดยหากเรามองดูดวงอาทิตย์นั้นจะเดินทางจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตกโดยจะอ้อม ไปทางทิศใต้

อย่างไรก็ตามจะมีวันที่ดวงอาทิตย์นั้นขึ้นและลงตรงกับทิศตะวันออกและตะวันตกพอดีนั้นคือช่วงวันที่ 21- 22มีนาคม และ 21- 22 กันยายน หรือเรียกว่าวิษุวัต (Equinox) เนื่อง จากแกนโลกทิศเหนือกับทิศใต้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เท่ากันพอดีนั้นเองทำให้ กลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันและทำให้ซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ได้รับความร้อน จากดวงอาทิตย์เท่ากันซึ่งเราเรียก วันที่ 21-22 มีนาคม เรียก ว่า วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) โดยวันนี้จะเป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกเหนือ และวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงทางซีกโลกใต้ ขณะที่วัน ที่ 21-22 กันยายน เรียกว่า ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) ถือว่าเป็นวัน เริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิทางซีกโลกใต้และวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ร่วงทางซีกโลก เหนือ

โดยวันที่ 21-22 มิถุนายน นั้นจะเป็นที่แกนโลกทางทิศเหนือนั้นชี้เข้าหาด้วงอาทิตย์มากที่สุด ดังนั้นดวงอาทิตย์จะขึ้นลงหรือเคลื่อนตัวบนท้องฟ้าเบี่ยงไปทางทิศเหนือมาก ที่สุดหรือที่เรียกว่า อุตรายัน (summer solstice) ในทางตรงข้ามวันที่ 21-22 ธันวาคมนั้นจะเป็นที่แกนโลกทางทิศใต้นั้นชี้เข้าหาด้วงอาทิตย์มากที่สุด ดังนั้นดวงอาทิตย์จะขึ้นลงหรือเคลื่อนตัวบนท้องฟ้าเบี่ยงไปทางทิศใต้มากที่ สุดหรือที่เรียกว่า ทักษิณายัน (winter solstice) นั้นเอง

ที่นี้เราลองมาดูตำแหน่งของประเทศไทยที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรไม่มากนั้นจะ เป็นอย่างไร เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และแกนโลกทางเหนือหันออกห่างดวง อาทิตย์หรือแกนโลกทางใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์นั้น พระอาทิตย์จะขึ้นและลงหรือเคลื่อนที่บนท้องฟ้าเบี่ยงไปทางทิศใต้ตามที่กล่าว มา แต่เมื่อโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์และแกนโลกทางใต้หันออกห่างดวงอาทิตย์หรือแกน โลกทางเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์นั้น พระอาทิตย์จะขึ้นและลงหรือเคลื่อนที่เป็นแนวค่อนข้างเส้นตรงจากตะวันออกไป ตะวันตก ซึ่งพระอาทิตย์จะตรงหัวนั้นเองเนื่องจากประเทศไทยอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จะไม่เหมือนกรณีที่พระอาทิตย์เคลื่อนที่เบี่ยงทางทิศใต้อย่างชัดเจนมากจาก การโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เมื่อแกนโลกทางใต้หันเข้าหาดวงอาทิตย์


ภาพแผนที่โลกโดยมีประเทศไทยนั้นอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร

ดังนั้นเราจึงสรุปสำหรับประเทศไทยนั้นพระอาทิตย์เคลื่อนตัวเป็นแนวตะวันออก ไปตะวันตกในช่วงต้นหน้าร้อนไปถึงต้นหน้าฝนและเคลื่อนที่ขึ้นลงเบี่ยงไปทาง ทิศใต้ในช่วงปลายหน้าฝน หน้าหนาว ต้นหน้าร้อน จึงเป็นเหตุผลว่าแสงแดดนั้นจะมาจากทางทิศใต้มากกว่าทิศเหนือ และแสงจะมาจาก ทิศใต้ตลอดวันในช่วงที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ขึ้นลงเบี่ยงไปทางทิศใต้เสมอ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จากใจผู้จัดทำ Blog.

ข้อมูลวิชาความรู้ต่างๆ ที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำมาเสนอนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากหลายๆแหล่งข้อมูล มีทั้งข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลเชิงธุรกิจ และข้อมูลทางเทคนิค ที่สามารถช่วยส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง ให้สามารถประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจฟาร์มนกแอ่นด้วยตัวเองได้

ดังนั้น หากข้อมูลต่างๆที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำมาเสนอนี้ สามารถสร้างความสำเร็จแก่ผู้ทำธุรกิจ หรือผู้ที่กำลังสนใจจะลงทุนทำฟาร์มนกแอ่น ตลอดจนสามารถส่งเสริมให้คนหันมาสนใจอนุรักษ์และขยายพันธุ์นกแอ่น
คุณงามความดีต่างๆเหล่านี้ขอมอบแด่ครูบาอาจารย์ ที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำข้อมูลของท่านเหล่านั้นมานำเสนอ
และหากมีข้อผิดผลาดประการใดผู้จัดทำบล็อกขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

ขอขอบพระคุณ

อ.ศุภลักษณ์ วิรัชพินทุ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาคชีววิทยา ม.นเรศวร)
http://gotoknow.org ข้อมูลลักษณะทางชีววิทยาของนกแอ่นกินรัง

อ.เทพชัย อริยะพันธุ์ (อดีตนายกสมาคมท่องเที่ยว จ.ยะลา)
http://swiftletlover.blogspot.com ข้อมูลเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆในการทำฟาร์มนกแอ่น

อ.ประทีป ด้วงแค (ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ ม.เกษตรศาสตร์)
http://www.biotec.or.th ข้อมูลทางการค้าการทำธุรกิจรังนก

อ.เกริกวิชญ์ กฤษฎาพงษ์
http://www.baannatura.com ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากพลังธรรมชาติ

ข้อมูลการจำแนกลักษณะของนกแอ่น
www.oknation.net



"ขุนเขาไว้ไมตรีกับกรวดดิน
ขุนเขาจึงยิ่งใหญ่และสูงชัน..

ขอบฟ้าไว้ไมตรีกับหมอกควัน
ขอบฟ้านั้นจึงงดงาม.."


ด้วยความเคารพ....นายฐิติพันธ์ วสุธาภิรมย์