หน้า 6 ปีแรก 1 คู่ ปีที่สิบ 102,038 คู่

หน้า 6



ท่านผู้อ่านหลายท่านที่เพิ่งทำบ้านนกแอ่นใหม่ และเป็นกังวลกับจำนวนนกแอ่นที่เพิ่งเข้าอยู่อาศัยว่ามีจำนวนน้อยเพิ่มจำนวนช้า เห็นบินมาวนมาตเล่นลำโพงเสียงเรียกนอกมากมายแต่ทำไมไม่เข้าอยู่อาศัยทั้งหมด การทำบ้านนกแอ่นก็เป็นเช่นนี้แหละ ต้องมีความอดทน ต้องรอคอย นกแอ่นที่บินมาตอมลำโพงเสียงนอกและบินเข้าสำรวจภายในบ้าน อาจเป็นนกแอ่นที่มีที่อยู่อาศัยถาวรแล้ว แต่ด้วยนิสัยของนกแอ่นที่ชอบสำรวจ และด้วยเสียงเรียกนกแอ่นที่มีคุณภาพ ดึงดูดให้นกแอ่นต้องยอมคล้อยตามเสียงเรียก

ส่วนลูกนกแอ่นใหม่ที่ยังไม่โตเต็มวัยและบินตามฝูงมาด้วย ก็ได้มีโอกาสสำรวจบ้านนกแอ่นใหม่ของท่านด้วย ถ้าบ้านที่อยู่เดิมเริ่มคับแคบและบ้านที่เพิ่งสำรวจพบใหม่มีเงื่อนไขที่ดีกว่า ลูกนกแอ่นใหม่เหล่านี้ก็จะตัดสินใจได้ง่าย ท่านก็มีโอกาสได้ลูกนกแอ่นใหม่เหล่านี้ การทำบ้านนกแอ่นจึงอยู่ที่การทำบ้านนกแอ่นให้ได้ตามเงื่อนไขที่นกแอ่นชื่นชอบทุกประการ (Microhabitat)

การเรียกคู่นกแอ่นคู่แรกให้เข้าอยู่ อาศัยและยอมรับเงื่อนไขภายในของบ้านนกแอ่น การเห็นรังนกแอ่นรังแรกจนกระทั่งเห็นลูกนกแอ่นจากรังแรก จึงถือเป็นความสำเร็จในการทำบ้านนกแอ่น ส่วนการจะวัดความสำเร็จระดับต่างๆ จึงขึ้นอยู่กับท่านว่าท่านให้ความสำคัญกับระดับความสำเร็จอย่างไร แต่จะอย่างไรก็ตามขอเรียนยืนยันกับท่านอีกครั้งว่า ถ้าท่านทำบ้านนกแอ่นของท่านได้สมบูรณ์ตรงตามเงื่อนไขที่นกแอ่นชื่นชอบทุก ประการ นกแอ่นคู่แรกได้เข้าอยู่อาศัยและทำรังจนเห็นลูกนกแอ่นจากรังแรกแน่นอน ข้อมูลต่อไปนี้จะทำให้ท่านพอคลายความกังวลได้บ้าง

ข้อมูลนี้อยู่บนพื้นฐานว่านกแอ่นผสมพันธุ์ 3 รอบใน 1 ปี, เฉลี่ย 4 เดือนต่อ 1 รอบ, ใน 1 รอบ ได้ลูกนกแอ่น 2 ตัว, 1 ปี 3 รอบ ได้ลูกนกแอ่น 6 ตัว, เท่ากับ 1 ปี เพิ่ม 3 เท่า (คูณ 3 ทุกปี) แล้วบวกกับตัวต้นที่เรา x 3 ทุกปี
(อัตราการเสียชีวิตของนกแอ่นตามธรรมชาติ 35.4% ช่วงอายุประมาณ 8 - 12 ปี)
(อัตราการเสียชีวิตของลูกนกแอ่น 10%)

ปีที่ 1 : 1 คู่ x 3 = 3 คู่
ปีที่ 2 : 4 คู่ x 3 - 10% = 10.8 คู่
ปีที่ 3 : 14.8 คู่ x 3
- 10% = 39.96 คู่
ปีที่ 4 : 54.76 คู่ x 3
- 10% = 164.28 คู่
ปีที่ 5 : 219.04 คู่ x 3
- 10% = 657.12 คู่
ปีที่ 6 : 876.16 คู่ x 3
- 10% = 2,628.48 คู่
ปีที่ 7 : 3,504.64 คู่ x 3
- 10% = 10,513.92 คู่
ปีที่ 8 : 14,018.56 คู่ x 3
- 35.4% = 27,167.96 คู่
ปีที่ 9 : 27,167.96 คู่ x 3
- 35.4% = 52,651.52 คู่
ปีที่ 10 :
52,651.52 คู่ x 3 - 35.4% = 102,038.64 คู่

จากข้อมูลที่แสดงจะเห็นว่า แม้เพียงปีแรกจะมีนกแอ่นเข้าอยู่อาศัยเพียง 1 คู่ และขยายพันธุ์ตามธรรมชาติของนกแอ่น เมื่อสิ้นปีที่ 10 จะมีจำนวนนกแอ่นถึง 102,038 คู่ ตัวเลขอาจจะไม่ต้องขนาดนี้ท่านก็ยิ้มได้แล้ว ส่วนใหญ่บ้านนกแอ่นใหม่ที่ทำได้สมบูรณ์เพียงปีแรกก็สามารถดึงดูดนกแอ่นได้ มากกว่า 1 คู่ อยู่แล้ว ท่านก็ลองไปคิดคำนวณเอาเอง ดังนั้นการทำบ้านนกแอ่นจึงต้องมีการรอคอย มีความอดทน มีบุญมีโชคมากบวกบ้าง

สำหรับบ้านนกแอ่นของท่านที่มีนกแอ่นเข้าอยู่อาศัยแล้วจะมากจะ น้อย จะช้าจะเร็ว ก็อย่าได้กังวลใจมากนัก ตราบใดที่นกแอ่นเข้าอยู่อาศัยแล้ว นกแอ่นสามารถขยายเผ่าพันธุ์ ลูกนกแอ่นสามารถอยู่รอดปลอดภัยได้ ไม่มีศัตรูคอยรบกวน พ่อแม่นกแอ่นจะเริ่มมั่นใจและเร่งขยายเผ่าพันธุ์ต่อไป วัดวาอาราม โรงหนังเก่าทิ้งร้าง ตึกร้าง โรงงานร้าง นกแอ่นยังอาศัยอยู่ได้มากมาย แต่บ้านนกแอ่นของท่านลงทุนทำมาอย่างดีย่อมมีโอกาสสำเร็จอยู่แล้ว (บทความจาก http://swiftletlover.blogspot.com)

และถ้าอยากทราบว่า ถ้ามีจำนวนนกแอ่นเท่านี้จะสามารถสร้างรายได้เท่าไหร่...อ่านบทความต่อไปเลยครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จากใจผู้จัดทำ Blog.

ข้อมูลวิชาความรู้ต่างๆ ที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำมาเสนอนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากหลายๆแหล่งข้อมูล มีทั้งข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลเชิงธุรกิจ และข้อมูลทางเทคนิค ที่สามารถช่วยส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง ให้สามารถประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจฟาร์มนกแอ่นด้วยตัวเองได้

ดังนั้น หากข้อมูลต่างๆที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำมาเสนอนี้ สามารถสร้างความสำเร็จแก่ผู้ทำธุรกิจ หรือผู้ที่กำลังสนใจจะลงทุนทำฟาร์มนกแอ่น ตลอดจนสามารถส่งเสริมให้คนหันมาสนใจอนุรักษ์และขยายพันธุ์นกแอ่น
คุณงามความดีต่างๆเหล่านี้ขอมอบแด่ครูบาอาจารย์ ที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำข้อมูลของท่านเหล่านั้นมานำเสนอ
และหากมีข้อผิดผลาดประการใดผู้จัดทำบล็อกขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

ขอขอบพระคุณ

อ.ศุภลักษณ์ วิรัชพินทุ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาคชีววิทยา ม.นเรศวร)
http://gotoknow.org ข้อมูลลักษณะทางชีววิทยาของนกแอ่นกินรัง

อ.เทพชัย อริยะพันธุ์ (อดีตนายกสมาคมท่องเที่ยว จ.ยะลา)
http://swiftletlover.blogspot.com ข้อมูลเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆในการทำฟาร์มนกแอ่น

อ.ประทีป ด้วงแค (ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ ม.เกษตรศาสตร์)
http://www.biotec.or.th ข้อมูลทางการค้าการทำธุรกิจรังนก

อ.เกริกวิชญ์ กฤษฎาพงษ์
http://www.baannatura.com ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากพลังธรรมชาติ

ข้อมูลการจำแนกลักษณะของนกแอ่น
www.oknation.net



"ขุนเขาไว้ไมตรีกับกรวดดิน
ขุนเขาจึงยิ่งใหญ่และสูงชัน..

ขอบฟ้าไว้ไมตรีกับหมอกควัน
ขอบฟ้านั้นจึงงดงาม.."


ด้วยความเคารพ....นายฐิติพันธ์ วสุธาภิรมย์