หน้า 8 ฟาร์มยิ่งมาก...นกแอ่นก็ยิ่งมาก

หน้า 8



มีข้อสงสัยที่พูดคุยกันมากในหมู่ผู้ทำบ้านนกแอ่นว่า ยิ่งมีบ้านนกแอ่นใหม่เพิ่มขึ้นมากๆ ยิ่งทำให้แต่ละบ้านนกแอ่นได้นกแอ่นน้อยลง และนกแอ่นเพิ่มขึ้นช้า ความคิดนี้อาจจะผิดหรือไม่จริงก็ได้ ถ้าผู้คิดเป็นผู้เห็นแก่ตัวหรือมีจิตใจคับแคบ เราอยู่ในโลกของความมีอิสระ ไม่สามารถที่จะไปหยุดให้ผู้อื่นครอบครองสิ่งต่างๆได้ นกแอ่นถูกธรรมชาติสร้างมา หรือถ้าเชื่ออีกแบบก็ถูกพระเจ้าส่งมาให้แก่ทุกท่าน

ดังนั้นทุกท่านจึงสามารครอบครองได้ เรียกได้ ทำบ้านนกแอ่นได้ทุกท่าน แล้วแต่ว่าท่านมีกำลังความสามารถหรือไม่ เท่านั้นเอง! ท่านที่ทำบ้าน นกแอ่นและสามารถทำได้ตามเงื่อนไขที่นกแอ่นชื่นชอบทุกประการ สามารถเพิ่มประชากรนกแอ่นได้ตลอดเวลา ยิ่งเวลาผ่านไปนกแอ่นยิ่งเพิ่มขึ้น สำหรับคนทำบ้านนกแอ่น "เวลา คือ เงิน" นั่นเอง ต่อไปนี้คือการคำนวณ อย่างง่ายๆ ให้ท่านเห็นว่านกแอ่นเพิ่มประชากรอย่างไร และรองรับบ้านนกแอ่นที่เพิ่มขึ้นได้เท่าไหร่ ให้ท่านคิดตามเล่นๆ อย่าเพิ่งเซ็ง อย่าเพิ่งเครียด ก่อนอื่นต้องตั้งสมมุติฐานต่อไปนี้

1. ขนาดของบ้านนกแอ่นพื้นฐาน 2 ชั้น ขนาด 4 x 25 เมตร = 100 x 2 = 200 ตารางเมตร
2. บ้านนกแอ่นที่สำเร็จสูงสุด พื้นที่ 1 ตารางเมตร รองรับรังนกแอ่นได้ประมาณ 100 รัง ทุกๆ 4 เดือน
3. ลูกนกแอ่นที่เกิดใหม่ไม่สามารถอยู่รอดได้ประมาณ 10 % (ด้วยอุบัติเหตุ ศัตรูรบกวนและเหตุอื่นๆ)
4. 1 คู่ นกแอ่น วางไข่ 2 ฟอง ต่อครั้ง 1 ปี 3 ครั้ง (เพิ่มขึ้น 270% ต่อปี)
5. อัตตราการเสียชีวิตตามธรรมชาติ 35.5% ต่อปี
6. มีอาหารของนกแอ่นอย่างสมบูรณ์เพียงพอและมีสภาพแวดล้อมปกติ

การคำนวณบ้านนกแอ่นที่สร้างเพิ่มขึ้นทุกๆปีเพื่อรองรับปริมาณนกแอ่นที่เพิ่มขึ้น

จากสถิติตัวเลขบ้านนกแอ่นในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันประมาณ 80,000 หลัง บ้านนกแอ่นที่สำเร็จจริงๆ ประมาณ 30 % เท่ากับ ประมาณ 24,000 หลัง จำนวนนกแอ่นเกิดใหม่ในบ้านที่สำเร็จโดยประมาณ 20,000 รัง/4เดือน

ดังนั้นตัวเลขโดยประมาณ

จำนวนประชากรนกแอ่นในประเทศไทยที่อาศัยอยู่ในบ้านนกแอ่น = 24,000 x 20,000 รัง = 480 ล้านคู่ หรือ 960 ล้านตัว

ประมาณการณ์ประชากรนกแอ่นที่เพิ่มขึ้น

ปีที่ 1 =
960 ล้านตัว + (960 x 3 - 10% = 2,592 ล้านตัว) = 3,552 ล้านตัว
ลบ
อัตราการเสียชีวิต 35.5% = 2,291.04 ล้านตัว

ปีที่ 2 = 2,291.04 ล้านตัว + (2,291.04 x 3 - 10% = 6,185.8 ล้านตัว) = 8,477.2 ล้านตัว
ลบ
อัตราการเสียชีวิต 35.5% = 5,467.79ล้านตัว

ปีที่ 3 = 5,467.79 ล้านตัว + (5,467.79 x 3 - 10% = 14,763.03 ล้านตัว) = 20,230.82 ล้านตัว
ลบ
อัตราการเสียชีวิต 35.5% = 13,048.87 ล้านตัว

ปีที่ 4 = 13,048.87 ล้านตัว + (13,048.87 x 3 - 10% = 35,231.94 ล้านตัว) = 48,280.81 ล้านตัว
ลบ
อัตราการเสียชีวิต 35.5% = 31,141.12 ล้านตัว

ปีที่ 5 = 31,141.12 ล้านตัว + (31,141.12 x 3 - 10% = 84,081.02 ล้านตัว) = 115,222.14 ล้านตัว
ลบ
อัตราการเสียชีวิต 35.5% = 74,318.28 ล้านตัว


จำนวนบ้านนกแอ่นใหม่ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับประชากรนกแอ่นที่เพิ่มขึ้นในปีที่ 1-5

=
74,318,280,000 ตัว หรือ 37,159,140,000 คู่ - 480,000,000 คู่ = 36,679,140,000 คู่ / 20,000 = 1,833,957 หลัง

เราต้องสร้างบ้านนกแอ่นที่มีพื้นที่รัง 200 ต.ร.ม. จำนวน
1,833,957 หลัง เพื่อรองรับลูกนกแอ่นเหล่านี้


ข้อเท็จจริงที่ค้นพบ

1. ยิ่งบ้านนกแอ่นมีมากเท่าไหร่ยิ่งมีความสุข ยิ่งท่านสร้างมากเท่าไหร่ ประชากรนกแอ่นยิ่งเพิ่มมากขึ้น
2. ประชากรนกแอ่นมากมายเพียงพอให้ท่านแบ่งปันกันอย่างพอเพียง
3. หากจำนวนบ้านนกแอ่นสร้างได้ไม่รวดเร็วเพียงพอกับประชากรนกแอ่นที่เพิ่มขึ้น นกแอ่นก็จะย้ายถิ่นไปสู่พื้นที่อื่น

จะเห็นว่าผมลองแบ่งนกแอ่นให้ท่านแบบใจกว้างๆ บ้านละ 20,000 คู่ ยังได้จำนวนบ้านนกแอ่นที่ต้องสร้างใหม่ในปีที่ 1-5 ถึง 1,833,957 หลัง ยังไม่ต้องพูดถึงปีต่อๆไปแล้วนี่จะสร้างกันทันหรือไม่ ดังนั้นจึงอย่าไปกลัวเลยว่าคนอื่นทำบ้านนกแอ่นแล้วจะมาแย่งลูกนกแอ่นจากเรา
(บทความจาก http://swiftletlover.blogspot.com)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

จากใจผู้จัดทำ Blog.

ข้อมูลวิชาความรู้ต่างๆ ที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำมาเสนอนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากหลายๆแหล่งข้อมูล มีทั้งข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลเชิงธุรกิจ และข้อมูลทางเทคนิค ที่สามารถช่วยส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง ให้สามารถประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจฟาร์มนกแอ่นด้วยตัวเองได้

ดังนั้น หากข้อมูลต่างๆที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำมาเสนอนี้ สามารถสร้างความสำเร็จแก่ผู้ทำธุรกิจ หรือผู้ที่กำลังสนใจจะลงทุนทำฟาร์มนกแอ่น ตลอดจนสามารถส่งเสริมให้คนหันมาสนใจอนุรักษ์และขยายพันธุ์นกแอ่น
คุณงามความดีต่างๆเหล่านี้ขอมอบแด่ครูบาอาจารย์ ที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำข้อมูลของท่านเหล่านั้นมานำเสนอ
และหากมีข้อผิดผลาดประการใดผู้จัดทำบล็อกขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

ขอขอบพระคุณ

อ.ศุภลักษณ์ วิรัชพินทุ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาคชีววิทยา ม.นเรศวร)
http://gotoknow.org ข้อมูลลักษณะทางชีววิทยาของนกแอ่นกินรัง

อ.เทพชัย อริยะพันธุ์ (อดีตนายกสมาคมท่องเที่ยว จ.ยะลา)
http://swiftletlover.blogspot.com ข้อมูลเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆในการทำฟาร์มนกแอ่น

อ.ประทีป ด้วงแค (ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ ม.เกษตรศาสตร์)
http://www.biotec.or.th ข้อมูลทางการค้าการทำธุรกิจรังนก

อ.เกริกวิชญ์ กฤษฎาพงษ์
http://www.baannatura.com ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากพลังธรรมชาติ

ข้อมูลการจำแนกลักษณะของนกแอ่น
www.oknation.net



"ขุนเขาไว้ไมตรีกับกรวดดิน
ขุนเขาจึงยิ่งใหญ่และสูงชัน..

ขอบฟ้าไว้ไมตรีกับหมอกควัน
ขอบฟ้านั้นจึงงดงาม.."


ด้วยความเคารพ....นายฐิติพันธ์ วสุธาภิรมย์