หน้า 4 ศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ

หน้า 4

การสร้างบ้านนกแอ่นในปัจจุบัน ต้องออกแบบให้ดีให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นอยู่ จริงของนกแอ่น ให้เหมือนถ้ำที่นกแอ่นอยู่ตามเกาะต่างๆ บ้านนกแอ่นที่ประสบความสำเร็จสูงสุดคือ บ้านที่สามารถสร้างได้ใกล้เคียงสภาพถ้ำนกแอ่นมากที่สุด ในประเทศอินโดนีเซียและประเทศมาเลเซีย เรียกบ้านนกแอ่นว่า "Swiftlet House" หรือ "Swiftlet Farming" ลักษณะจริงๆก็คือการทำฟาร์มนั่นเอง

แต่เนื่องจากนกแอ่นเป็นนกที่แตกต่างจากนกอื่นๆ คือ ไม่ยอมให้จำกัดบริเวณหรือถูกกักขัง ไม่ต้องให้อาหาร นกแอ่นจะออกหากินเองตามลักษณะธรรมชาติของนกแอ่น การเลี้ยงนกแอ่นจึงถือเป็นลักษณะของการทำฟาร์มแบบพิเศษ ทำที่ให้นกแอ่นเกาะพักเพื่อทำรังโดยใช้ไม้ตีรัง(Nesting Plank) ทำอุณหภูมิและความชื้นให้เหมือนในถ้ำนกแอ่น ดูแลอย่าให้มีศัตรูของนกแอ่นมารบกวน ทำความมืดให้เหมาะสม เปิดเสียงเรียกนกแอ่นให้ฟังดูเหมือนมีนกแอ่นอาศัยอยู่มากมาย เท่านี้ก็เรียกนกแอ่นให้เข้าอยู่ได้แล้ว ใน ช่วงเวลา 20 - 30 ปี ที่ผ่านมา คนไทยส่วนใหญ่เชื่อว่าไม่สามารถที่จะทำบ้านให้นกแอ่นอยู่ได้ ทุกวันนี้คนไทยบางส่วนก็ยังคงเชื่อเช่นนี้ เชื่อว่าคนที่มีบ้านและมีนกแอ่นเข้าอยู่อาศัย คือคนที่มีโชคมีบุญวาสนา การจะทำบ้านและเรียกให้นกแอ่นเข้าอยู่อาศัยเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ (Impossible)

เจ้าของบ้านนกแอ่นหลายๆคนที่ประสบความสำเร็จในการทำบ้านนกแอ่น มักไม่ค่อยบอกรายละเอียดใดๆให้ใครทราบ เหตุผลของเขาคือ ข้อแรกเรื่องความปลอดภัย ข้อที่สองไม่อยากให้มีบ้านนกแอ่นใหม่เพิ่มขึ้น ข้อที่สามไม่อยากแบ่งบันข้อมูลความรู้เรื่องนี้กับใครๆ การจะดูว่าบ้านนกแอ่นหลังใดประสบความสำเร็จหรือไม่ ดูไม่ยาก เพียงท่านตื่นแต่เช้าเวลา 6.00 น. - 8.00 น. ไปยืนดูนกแอ่นบินออกจากช่องทางเข้า-ออกของบ้านนกแอ่น หรือถ้าขี้เกียจตื่นเช้าก็ไปยืนดูตอนเย็นเวลา 18.15 น. - 19.00 น. ถ้าท่านเห็นนกแอ่นบินเข้าหรือบินออกเป็นร้อยๆตัวก็แสดงว่าบ้านนกแอ่นหลังนั้นประสบความสำเร็จ

คำแนะนำที่ผมอยากให้กับท่านที่คิดจะทำบ้านนกแอ่น ในการเลือกสถานที่หรือทำเล โปรดเลือกสถานที่หรือทำเลที่มีบ้านนกแอ่นจำนวนน้อย แต่ต้องมีบ้านนกแอ่นที่สำเร็จแล้วอยู่บ้างเพื่อความมั่นใจ หรือจะทำเป็นหลังแรกๆยิ่งดี ถ้าพื้นที่ใดมีบ้านนกแอ่นที่ทำมานานแล้วเป็นจำนวนมาก คือเกิน 10 หลัง การเรียกนกแอ่นเข้าอยู่อาศัยในบ้านนกแอ่นใหม่ของท่านจะค่อนข้างยากและใช้ เวลานาน ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีตึกนกแอ่นเป็นร้อยหลัง แต่ที่ประสบความสำเร็จจริงๆประมาณ 30% เท่านั้น ในประเทศไทยมีบ้านนกแอ่นประมาณ 80,000 หลัง ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมดประสบความสำเร็จ เหตุผลของการไม่ประสบความสำเร็จคือ เจ้าของบ้านนกแอ่นส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจที่แท้จริง ไม่สามารถทำเงื่อนไขให้ได้ตามมาตรฐานที่นกแอ่นต้องการ (บทความจาก http://swiftletlover.blogspot.com)


1 ความคิดเห็น:

จากใจผู้จัดทำ Blog.

ข้อมูลวิชาความรู้ต่างๆ ที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำมาเสนอนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลมาจากหลายๆแหล่งข้อมูล มีทั้งข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลเชิงธุรกิจ และข้อมูลทางเทคนิค ที่สามารถช่วยส่งเสริมให้ผู้ที่ต้องการทำฟาร์มนกแอ่นกินรัง ให้สามารถประสบผลสำเร็จในการทำธุรกิจฟาร์มนกแอ่นด้วยตัวเองได้

ดังนั้น หากข้อมูลต่างๆที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำมาเสนอนี้ สามารถสร้างความสำเร็จแก่ผู้ทำธุรกิจ หรือผู้ที่กำลังสนใจจะลงทุนทำฟาร์มนกแอ่น ตลอดจนสามารถส่งเสริมให้คนหันมาสนใจอนุรักษ์และขยายพันธุ์นกแอ่น
คุณงามความดีต่างๆเหล่านี้ขอมอบแด่ครูบาอาจารย์ ที่ผู้จัดทำบล็อกได้นำข้อมูลของท่านเหล่านั้นมานำเสนอ
และหากมีข้อผิดผลาดประการใดผู้จัดทำบล็อกขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว

ขอขอบพระคุณ

อ.ศุภลักษณ์ วิรัชพินทุ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาคชีววิทยา ม.นเรศวร)
http://gotoknow.org ข้อมูลลักษณะทางชีววิทยาของนกแอ่นกินรัง

อ.เทพชัย อริยะพันธุ์ (อดีตนายกสมาคมท่องเที่ยว จ.ยะลา)
http://swiftletlover.blogspot.com ข้อมูลเคล็ดลับและเทคนิคต่างๆในการทำฟาร์มนกแอ่น

อ.ประทีป ด้วงแค (ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ ม.เกษตรศาสตร์)
http://www.biotec.or.th ข้อมูลทางการค้าการทำธุรกิจรังนก

อ.เกริกวิชญ์ กฤษฎาพงษ์
http://www.baannatura.com ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากพลังธรรมชาติ

ข้อมูลการจำแนกลักษณะของนกแอ่น
www.oknation.net



"ขุนเขาไว้ไมตรีกับกรวดดิน
ขุนเขาจึงยิ่งใหญ่และสูงชัน..

ขอบฟ้าไว้ไมตรีกับหมอกควัน
ขอบฟ้านั้นจึงงดงาม.."


ด้วยความเคารพ....นายฐิติพันธ์ วสุธาภิรมย์